เมนู

สนิทสนม นรชนเหล่านั้น ย่อมได้ประสบ
ความสุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.

จบ สันธิเภทชาดกที่ 9

อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ 9


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
เปสุญญสิกขาบท จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เนว
อิตฺถีสุ สามญฺญํ
ดังนี้.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระศาสดาได้ทรงสดับว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์
นำความส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้ จึงรับสั่งให้เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนำความ
ส่อเสียดป้ายร้ายเข้าไปให้แก่พวกภิกษุผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน
จริงหรือ ? เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้น และความ
บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งขึ้น เมื่อพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่าจริงพระเจ้าข้า จึงทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้น
แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าวาจาส่อเสียดคมกล้าประดุจ-
ประหารด้วยศาตรา ถึงความคุ้นเคยที่เหนียวแน่นมั่นคงก็แตกสลายไป
ได้โดยรวดเร็ว เพราะวาจาส่อเสียดนั้น ก็แหละชนผู้เชื่อถือวาจา
ส่อเสียดนั้นแล้วทำลายไมตรีของตนเสีย ย่อมเป็นเช่นกับราชสีห์และ
โคผู้ทีเดียว แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสีนั้น เจริญวัย
แล้ว เล่าเรียนศิลปะในเมืองตักกศิลาเสร็จแล้ว เมื่อพระบิดาสวรรคต
แล้ว ได้ครองราชสมบัติโดยธรรม. ครั้งนั้น นายโคบาลคนหนึ่ง.
เลี้ยงโคทั้งหลายในตระกูลทั้งหลาย เมื่อจะมาจากป่า ไม่ได้นึกถึงแม่
โคตัวหนึ่งซึ่งมีครรภ์ จึงทิ้งไว้แล้วไปเสีย แม่โคนั้นเกิดความคุ้นเคย
กับแม่ราชสีห์ตัวหนึ่ง. แม่โคและแม่ราชสีห์ทั้งสองนั้นเป็นมิตรกัน
อย่างมั่นคงเที่ยวไปด้วยกัน. จำเนียรกาลนานมา แม่โคจึงตกลูกโค
แม่ราชสีห์ตกลูกราชสีห์. ลูกโคและลูกราชสีห์ทั้งสองนั้นก็ได้เป็นมิตร
กันอย่างเหนียวแน่น ด้วยไมตรีซึ่งมีมาโดยสกุล จึงเที่ยวไปด้วยกัน.
ครั้งนั้น พรานป่าคนหนึ่งเข้าป่าเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นคุ้นเคยกัน จึงถือ
เอาสิ่งของที่เกิดขึ้นในป่า แล้วไปเมืองพาราณสี ถวายแด่พระราชา
อันพระราชาตรัสถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นความอัศจรรย์อะไร ๆ
ในป่าบ้างไหม ? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น
อะไร ๆ อย่างอื่น แต่ได้เห็นราชสีห์ตัวหนึ่งกับโคผู้ตัวหนึ่ง สนิทสนม
กันและกันเที่ยวไปด้วยกัน. พระราชาตรัสว่า เมื่อสัตว์ตัวที่สามเกิด
ขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองเหล่านั้น ภัยจักบังเกิดมี เมื่อใดท่านเห็นสัตว์ตัว
ที่สามเพิ่มขึ้นแก่สัตว์ทั้งสองนั้น เมื่อนั้นท่านพึงบอกเรา. นายพราน
ป่านั้นทูลรับว่า ได้พระเจ้าข้า. ก็เมื่อพรานป่าไปเมืองพาราณสีแล้ว
มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเข้าไปบำรุงราชสีห์และโคผู้. นายพรานป่าไปป่า

ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้นคิดว่า จักกราบทูลความที่สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้น
แล้วแก่พระราชา จึงได้ไปยังพระนครพาราณสี. สุนัขจิ้งจอกคิดว่า
เว้นเนื้อราชสีห์และเนื้อโคผู้เสีย ขึ้นชื่อว่าเนื้ออื่นที่เราไม่เคยกิน ไม่มี
เราจักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสองนี้แล้วกินเนื้อสัตว์ทั้งสองนี้. สุนัขจิ้งจอก
นั้นจึงยุยงสัตว์ทั้งสองนั้นให้ทำลายกันและกันโดยพูดว่า ผู้นี้พูดอย่าง
นี้กะท่าน ผู้นี้พูดอย่างนี้กะท่าน ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้ถึงแก้ความตาย
เพราะทำการทะเลาะกัน. ฝ่ายพรานป่ามาถึงแล้วกราบทูลแก่พระราชา
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ สัตว์ตัวที่สามเกิดขึ้นแล้วแก่ราชสีห์และโคผู้
เหล่านั้น พระราชาตรัสถามว่า สัตว์ตัวที่สามนั้น คืออะไร ? พราน
ป่ากราบทูลว่า สุนัขจิ้งจอกพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอก
จักยุยงทำลายสัตว์ทั้งสองนั้นให้ตาย พวกเราจักไปทันในเวลาสัตว์
ทั้งสองนั้นจะตาย จึงเสด็จขึ้นทรงราชรถเสด็จไปตามทางที่พรานป่าชี้
แสดงให้ เสด็จไปทันในเมื่อสัตว์ทั้งสองนั้นทำการทะเลาะกันและกัน
แล้วถึงแก่สิ้นชีวิตไป. สุนัขจิ้งจอกมีใจยินดีกินเนื้อราชสีห์ครั้งหนึ่ง
กินเนื้อโคผู้ครั้งหนึ่ง พระราชาทั้งเห็นสัตว์ทั้งสองนั้นถึงความสิ้น
ชีวิตไปแล้ว ทรงประทับยืนอยู่บนรถนั่นแล เมื่อจะตรัสเจรจากับ
นายสารถี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
ดูก่อนนายสารถี สัตว์ทั้งสองนี้ไม่ได้มี
ความเสมอกันเพราะสตรีทั้งหลาย ไม่ได้มี

ความเสมอกันเพราะอาหาร คือต่างก็มีสัตว์
ตัวเมียและอาหารคนละชนิดไม่เหมือนกัน
ภายหลัง เมื่อสุนัขจิ้งจอกยุยงทำลายความ
สนิทสนมจนถึงให้ตาย ท่านจงเห็นเหตุนั้น
ซึ่งฉันคิดไว้ถูกต้องแล้ว.
พวกสุนัขจิ้งจอกพากันกัดกินโคผู้และ
ราชสีห์ เพราะคำส่อเสียดใด คำส่อเสียด
นั้น ย่อมเป็นไปถึงตัดมิตรภาพ เพราะเนื้อ
คือสุนัขจิ้งจอกเป็นเหตุ ดุจดาบคน ฉะนั้น.
ดูก่อนนายสารถี ท่านจงดูการนอนตาย
ของสัตว์ทั้งสองนี้ ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของ
คนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความสนิทสนม ผู้
นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้.
ดูก่อนนายสารถี นรชนเหล่าใดไม่เชื่อ
ถือถ้อยคำของตนส่อเสียด ผู้มุ่งทำลายความ
สนิทสนม นรชนเหล่านั้นย่อมได้ประสบ
สุขเหมือนคนไปสวรรค์ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อิตฺถีสุ ความว่า ดูก่อน
นายสารถีผู้สหาย สัตว์ทั้งสองนี้ไม่มีความเสมอกันในเพราะสตรี และ
ในเพราะอาหาร เพราะราชสีห์ย่อมเสพสตรีเฉพาะอย่างหนึ่ง โคผู้
ย่อมเสพสตรีอีกอย่างหนึ่ง คนละอย่าง อนึ่งราชสีห์ย่อมกินภักษา-
หารอย่างหนึ่ง และโคผู้ย่อมกินภักษาหารอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือน
กัน ในบทว่า อถสฺส นี้ มีอธิบายว่า เมื่อเหตุที่จะทำให้ทะเลาะ
กันแม้จะไม่มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังสุนัขจิ้งจอกชาติชั่วตัวนี้ผู้ทำลายความ
สนิทสนมกันฉันมิตร คิดว่า จักกินเนื้อของสัตว์ทั้งสอง จึงฆ่าสัตว์
ทั้งสองนี้ ท่านจงเห็นดังที่เราคิดไว้ดีแล้ว. ในบทว่า ยตฺถ นี้ ท่าน
แสดงความว่า เมื่อความส่อเสียดใดเป็นไปอยู่ พวกสุนัขจิ้งจอกผู้ฆ่า
เนื้อ ย่อมเคี้ยวกินโคผู้และราชสีห์ ความส่อเสียดนั้นย่อมตัดมิตรภาพ
ไปในเพราะเนื้อ เหมือนดาบอันคมกริบฉะนั้น. ด้วยบทว่า ยมิมํ
ปสฺสสิ นี้ ท่านแสดงว่า ดูก่อนสารถีผู้สหาย ท่านจงดูการนอนตาย
ของสัตว์ทั้งสองเหล่านี้ บุคคลแม้อื่นใดรู้สึก คือเชื่อถือวาจาส่อเสียด
ของผู้ส่อเสียดผู้ทำลายความสนิทสนม บุคคลนั้นย่อมนอนเช่นนี้ คือ
ตายอย่างนี้ทีเดียว. บทว่า สุขเมธนฺติ ความว่า ย่อมประสบคือได้
ความสุข บทว่า นรา สคฺคคตาริว ความว่า ชนเหล่านั้นย่อม
ประสบความสุข เหมือนนรชนผู้ไปสวรรค์พรั่งพร้อมด้วยโภคะอันเป็น
ทิพย์ฉะนั้น. บทว่า นาวโพเธนฺติ ความว่า ย่อมสำรวมระวังจาก

สิ่งที่ไม่ใช่สาระแก่นสาร คือได้ฟังคำแม้เช่นนั้นแล้วก็ทักท้วง ให้สำนึก
ไม่ทำลายไมตรี คงตั้งอยู่ตามปกติดังเดิม.
พระราชาครั้นตรัสคาถานี้แล้ว รับสั่งให้เก็บเอาหนัง เล็บ
และเขี้ยวของไกรสรราชสีห์ แล้วเสด็จไปยังพระนครทีเดียว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสันธิเภทชาดกที่ 9

10. เทวตาปัญหาชาดก


ว่าด้วยปัญหาของเทวดา


[698] ดูก่อนพระราชา บุคคลประหารผู้อื่น
ด้วยมือทั้ง 2 ด้วยเท้าทั้ง 2 แล้วเอามือ
ประหารปากผู้อื่น บุคคลนั้นกลับเป็นที่รัก
ของผู้ถูกประหาร เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรง
เห็นผู้ที่ถูกประหารนั้นว่าได้แก่ใคร.
[699] ดูก่อนพระราชา บุคคลด่าผู้อื่นตามความ
พอใจ แต่ไม่ปรารถนาให้ผู้ที่ถูกด่านั้นได้รับ
ภัยอันตราย บุคคลนั้นกลับเป็นที่รักของผู้ด่า
เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นผู้ด่านั้นว่าได้
แก่ใคร.
[700] ดูก่อนพระราชา บุคคลกล่าวตู่ด้วยถ้อย
คำไม่เป็นจริง และท้วงติงด้วยคำอันเหลาะ
แหละ บุคคลนั้นกลับกลับเป็นที่รักแห่งกันและ
กัน เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงเห็นผู้นั้นว่า
ได้แก่ใคร.
[701] ดูก่อนพระราชา บุคคลผู้นำเอาข้าว น้ำ
ผ้าและเสนาสนะไป (ชื่อว่าผู้นำเอาไปมีอยู่